วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไอโซไธโอไซยาไนด์ในวาซาบิ

วาซาบิ (ワサビ) 


     สรุปคือมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้หลายชนิดโดยยกการวิจัยต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ทั้งแบคทีเรีย ยีสต์และเชื้อราต่างๆ ลดปัญหาฟันผุจากเชื้อStrep. mutans (เลยมีไอเดียปิ๊งมาทำเป็นยาสีฟันวาซาบิ) และโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อHelicobacter ซึ่งเจ้าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์คงทนความฉุนของวาซาบิไม่ใหม่ และมีประสิทธิภาพดีขนาดที่สามารถทำลายเชื้อแม้ว่ามันจะหลบลงไปซ่อนในผนังของกระเพาะอาหาร 
     ฤทธิ์อีกประการหนึ่งคือฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด คล้ายๆพวกแอสไพรินมีหมอให้รับประทานป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน จึงป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคเส้นโลหิตแข็ง และรวมถึงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตอันเกิดจากเส้นเลือดสมองตีบแตกหรือตันอันเป็นผลพวงตามมาอีกที 
     ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สำหรับภาวะหืดหอบ ไขข้อ ภูมิแพ้ และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการบาดเจ็บภายในในภาวะต่างๆได้รวมทั้งโรคหัวใจ (อะไรมันจะดีขนาดนั้น ฟังหูไว้หูนะครับ) 
     มีฤทธิ์ป้องกันกระดูกผุด้วย โดยพบว่าสารบางอย่างในวาซาบิมีฤทธิ์เสริมการก่อแคลเซียมในกระดูก โดยไม่ได้มีการวิจัยออกมาว่าเป็นสารประกอบตัวใด เป็นแต่เพียงพบว่าในกระบวนการสกัดสารนี้ให้ได้ประสิทธิภาพเช่นนี้เป็นส่วนสกัดที่อยู่ในกลุ่มที่มีมวลโมเลกุลต่ำ            ฤทธิ์อื่นๆที่น่าสนใจเช่น ป้องกันโรคท้องเสีย ปกป้องหน่่วยไต(nephorns)ในคนไข้เบาหวาน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ลดความเ ฤทธิ์ในการดีท๊อกซ์ตับ โดยสารประกอบที่น่าจะมีผลในด้านนี้ในวาซาบิคือสารซัลโฟเฟน ซึ่งพบในบล๊อคโค่ลี่เช่นกันป็นพิษระหว่างให้เคมีบำบัด 
    สรุปรวมๆแล้วก็คงมีส่วนมีจะเอาไปใช้ได้จริงๆอยู่บ้าง เวลากินให้อร่อยก็นึกถึงประโยชน์เหล่านี้ไว้ก็จะทำให้กินได้เอร็ดอร่อยมากขึ้น ก็อ่านๆสนุกๆ

ไร่วาซาบิ
สดจากไร่


ผ่านกรรมวิธี
พร้อมทานแล้วครับ





Reference
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23132316
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11237192
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15246236
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11237193
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15740020
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15231456
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1923907
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3466737/


ไม่มีความคิดเห็น: