วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แสนอร่อยกับยาแก้ปวด เชอรี่




มันจะดีขนาดนั้นเชียวเหรอ กินเชอรี่นี่อะนะ แก้ปวด?
เรารู้กันมาพอสมควรว่าสารฟลาโวนอยด์ในผลไม้ต่างๆนั้นมีผลดีต่อร่างกายในลักษณะต่างๆเช่นต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง เป็นต้น
แต่ถึงกับจะแก้ปวดนี่มันน่าสงสัยอยู่
     มีการศึกษาถึงประสิทธิภาพข้อนี้ของเชอรี่ พบว่าสารแอนโธไซยานินในเชอรี่มีประสิทธิภาพในการต้านอักเสบได้ดีมาก
     นักวิจัยที่โรงพยาบาลจอห์น ฮอปคินที่มีชื่อเสียงในเมืองบัลติมอร์ได้ค้นพบว่าสารสำคัญในเชอรี่นี้มีฤทธิ์แก้ปวดจากการอักเสบได้อย่างน่าทึ่ง เพื่อเปรียบเทียบกับยาแก้อักเสบอย่างแรงที่บรรดาหมอๆสั่งจ่ายให้กับคนไข้ โดยได้มีการทำการทดลองและผลการทดลองนั้นบ่งชี้ให้เชื่อได้ว่าสารแอนโธไซยานินในเชอรี่มีความสามารถต้านทานปัญหาการอักเสบอันเกิดจากสันดาปออกซิเจนอย่างรุนแรงได้
     เมื่อเอาเชอรี่ทาร์ตแสนอร่อยมารับประทาน อาการปวดกล้ามเนื้อที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกายหักโหมจะบรรเทาลงไปมาก
     นอกจากนี้นักวิจัยยังเชื่อว่าเชอรี่น่าจะมีผลช่วยลดปัญหาจากโรคเก๊าท์ ความเจ็บปวดข้อต่อต่างๆจากภาวะกรดยูริคสูง โดยเมื่อทำการทดลองให้บรรดาแม่บ้านสวาปามเชอรี่เข้าไปในปริมาณเยอะๆ ปรากฏว่าระดับกรดยูริคในเลือดลดไปมากพอสมควร และดัชนีชี้วัดการอักเสบของไขข้อจากการตรวจเลือดก็ลดตามลงไปด้วย อร่อยและหายปวดเก๊าท์ด้วย ดีจริงๆ
     นอกจากนี้ก็อดพูดเรื่องสุดฮิตไม่ได้ คือความสามารถในการป้องกันมะเร็ง โดยนักวิจัยเชื่อว่าเชอรี่น่าจะป้องกันมะเร็งลำไส้ได้
โดยป้อนเชอรี่ให้กับหนูทดลอง ปรากฏว่าเมื่อบรรดาหนูที่กินเชอรี่จะมีตัวที่เป็นมะเร็งลำไส้น้อยกว่า และมีขนาดมะเร็งเล็กกว่าในกลุ่มที่ไม่ได้ป้อนเชอรี่ให้กิน และในกล่าวอ้างอิงถึงการวิจัยอื่นด้วยว่าผลการทดลองเรื่องฤทธิ์การป้องกันมะเร็งมีผลคล้ายๆกันในมะเร็งเต้านม
ส่วนกลไกที่ป้องกันมะเร็งก็เชื่อว่าน่าจะเป็นเพราะเชอรี่ไปมีผลในการลดโปรตีนที่มะเร็งต้องใช้ในการเติบโต
     หลับสบายด้วยนะกินเชอรี่ เพราะนักวิจัยชี้ว่าเชอรี่เป็นสารไม่กี่ชนิดในธรรมชาติที่เป็นแหล่งของเมลาโทนิน ซึ่งเป็นสารเคมีสำคัญที่ร่างกายสร้างขึ้นโดยต่อมไพเนียล(ใต้สมอง) ซึ่งสารนี้มีฤทธิ์ในการควบคุมให้การนอนเป็นไปอย่างปกติธรรมชาติ เมลาโทนินโดยตัมันเองยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ปกป้องเซลล์ระบบประสาทจากภาวะอันไม่พึงประสงค์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ สารที่มีประโยชน์เหล่านี้มีฤทธิ์ในการช่วยต้านสมองเสื่อมจากความชราภาพได้อย่างดี
จึงป้องกันปัญหาความจำเสื่อมถอย สมองเสื่อม หรือบางทีอาจจะช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อมอัลไซม์เมอร์ได้เลยก็ได้
      สรุปว่าเชอรี่แสนอร่อยและยังมีคุณอนันต์ ยิ่งรับประทานได้เป็นประจำจะดีนักแล




แปลและเรียบเรียงจากบทความของ สตีฟ กู๊ดแมน Steve Goodman
ref:
http://www.lef.org/magazine/mag2007/dec2007_sf_cherries_01.htm

วันพุธที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ไอโซไธโอไซยาไนด์ในวาซาบิ

วาซาบิ (ワサビ) 


     สรุปคือมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้หลายชนิดโดยยกการวิจัยต่างๆ นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะ ทั้งแบคทีเรีย ยีสต์และเชื้อราต่างๆ ลดปัญหาฟันผุจากเชื้อStrep. mutans (เลยมีไอเดียปิ๊งมาทำเป็นยาสีฟันวาซาบิ) และโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากเชื้อHelicobacter ซึ่งเจ้าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์คงทนความฉุนของวาซาบิไม่ใหม่ และมีประสิทธิภาพดีขนาดที่สามารถทำลายเชื้อแม้ว่ามันจะหลบลงไปซ่อนในผนังของกระเพาะอาหาร 
     ฤทธิ์อีกประการหนึ่งคือฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด คล้ายๆพวกแอสไพรินมีหมอให้รับประทานป้องกันรักษาโรคหลอดเลือดอุดตัน จึงป้องกันภาวะเสี่ยงจากโรคเส้นโลหิตแข็ง และรวมถึงโรคอัมพฤกษ์อัมพาตอันเกิดจากเส้นเลือดสมองตีบแตกหรือตันอันเป็นผลพวงตามมาอีกที 
     ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สำหรับภาวะหืดหอบ ไขข้อ ภูมิแพ้ และช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากการบาดเจ็บภายในในภาวะต่างๆได้รวมทั้งโรคหัวใจ (อะไรมันจะดีขนาดนั้น ฟังหูไว้หูนะครับ) 
     มีฤทธิ์ป้องกันกระดูกผุด้วย โดยพบว่าสารบางอย่างในวาซาบิมีฤทธิ์เสริมการก่อแคลเซียมในกระดูก โดยไม่ได้มีการวิจัยออกมาว่าเป็นสารประกอบตัวใด เป็นแต่เพียงพบว่าในกระบวนการสกัดสารนี้ให้ได้ประสิทธิภาพเช่นนี้เป็นส่วนสกัดที่อยู่ในกลุ่มที่มีมวลโมเลกุลต่ำ            ฤทธิ์อื่นๆที่น่าสนใจเช่น ป้องกันโรคท้องเสีย ปกป้องหน่่วยไต(nephorns)ในคนไข้เบาหวาน ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ลดความเ ฤทธิ์ในการดีท๊อกซ์ตับ โดยสารประกอบที่น่าจะมีผลในด้านนี้ในวาซาบิคือสารซัลโฟเฟน ซึ่งพบในบล๊อคโค่ลี่เช่นกันป็นพิษระหว่างให้เคมีบำบัด 
    สรุปรวมๆแล้วก็คงมีส่วนมีจะเอาไปใช้ได้จริงๆอยู่บ้าง เวลากินให้อร่อยก็นึกถึงประโยชน์เหล่านี้ไว้ก็จะทำให้กินได้เอร็ดอร่อยมากขึ้น ก็อ่านๆสนุกๆ

ไร่วาซาบิ
สดจากไร่


ผ่านกรรมวิธี
พร้อมทานแล้วครับ





Reference
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23132316
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11237192
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15246236
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11237193
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15740020
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15231456
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1923907
http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3466737/